แสงแดดถึงจะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์โดยเฉพาะกับดวงตา ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถป้องกันแสงอุลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ “แว่นกันแดด”
แว่นกันแดดที่ดีจะต้องเป็นแว่นที่สามารถป้องกันแสงอุลตราไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้ามากระทบดวงตา
ซึ่งในแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นโลก มีทั้งแสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
และแสงคลื่นสั้นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าที่เรียกกันว่าแสงอุลตราไวโอเลต
หรือที่เรียกันว่าคลื่นแสงยูวีซึ่งมีความยาวคลื่นต่ำกว่า 400 nm แบ่งได้เป็นแสงยูวีเอ
แสงยูวีบี และ แสงยูวีซี แต่มีเพียงแสงยูวีเอและแสงยูวีบีเท่านั้นที่สามารถผ่านมายังผิวโลก
ซึ่งมีอันตรายต่อมนุษย์มาก เช่น ทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ต้อเนื้อ ต้อกระจก
จอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ
แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานจึงต้องสามารถป้องกันรังสียูวีเอได้อย่างน้อยร้อยละ
80 หรือยอมให้แสงยูวีผ่านเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือในการตรวจวัด
โดยปกติแว่นกันแดดทั่วไปสามารถป้องกันรังสียูวีได้เล็กน้อย
เช่น เลนส์พลาสติกซึ่งป้องกันแสงยูวีได้ดีกว่าเลนส์แก้ว เลนส์ที่ระบุว่าสามารถป้องกันยูวีได้
น่าจะป้องกันแสงยูวีได้ดีกว่าเลนส์ที่ไม่การระบุไว้
แว่นกันแดดที่เป็น Polarized Lens เป็นเลนส์ที่ตัดแสงจ้าได้ดี
ทำให้ผู้ใช้สบายตา แต่ก็สามารถกรองแสงยูวีได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แล้วจะเลือกซื้อแว่นกันแดดอย่างไร?
การเลือกซื้อแว่นกันแดด จึงควรดูที่ฉลาก CE
ที่กำกับแว่นว่าสามารถป้องกันรังสี UVA และ
UVB ได้หรือไม่
เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตทั้งสองชนิดนี้ต่างก็ทำลายนัยน์ตา UVB นั้นจะดูดซึมที่แก้วตา
แต่ถ้ารับแสงจ้านานเกินควร อาจจะทะลุไปที่จอรับภาพได้ ส่วน UVA จะดูดซึมเข้าไปได้ลึกกว่า
ดังนั้นการเลือกแว่นกันแดดคุณภาพดี จึงเปรียบเสมือนทาครีมกันแดดชั้นดี ให้แก่ดวงตา
รูปทรงของแว่น
แว่นกันแดดที่มีขนาดใหญ่ทรงโค้งมน
จะปกปิดดวงตาได้ดีทีเดียว
แว่นกันแดดที่มีขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียวแต่ไม่โค้งมนจะทำให้ดวงตาสัมผัสต่อแสงมากเป็น
3 เท่าของแว่นทรงโค้งมนเลยทีเดียว
นอกจากนี้แว่นกันแดดทรงโค้งมนจะไม่ตกหล่นง่ายเวลาใส่อีกด้วย
สีของเลนส์
แว่นกันแดดสำหรับกีฬาส่วนใหญ่จะป้องกันรังส CVB
ได้ 99 % และป้องกันรังสี UVAได้
60 % แต่ก็อย่าเพิ่งแน่ใจ
ควรจะตรวจสอบจากฉลากอีกทีหนึ่ง สำหรับสีของเลนส์นั้น
สีเลนส์ที่ดีและเหมาะที่จะใช้คือสีเทา-ดำ และเขียว-ดำ หากอยู่บริเวณชายหาด
สีเลนส์ที่เหมาะจะใช้คือสีชา-น้ำตาล หรือเทา
ส่วนเลนส์สีเหลืองไม่เหมาะจะใส่เวลาขับรถ เพราะมันจะทำให้เห็นสีไฟจราจรไม่ชัดเจนระหว่างไฟแดง
และไฟเขียวได้
ความพอดีของเลนส์กับขอบแว่น
เมื่อเลือกแบบแว่นกันแดดได้แล้ว
ก็ควรจะดูว่าขอบของเลนส์ฟิตพอดีกับแว่นหรือไม่
โดยการลองใส่แล้วเดินไป-มาขึ้น-ลงบันได
ให้แน่ใจว่ามันจะไม่เลื่อนหลุดออกมาจากตัวแว่นจริง ๆ หรือจะใช้วิธีจับแว่นตาไว้
แล้วดูในแนวตั้งและแนวนอนว่าขอบเลนส์ออกมานอกกรอบแว่นหรือไม่
No comments:
Post a Comment