อุตสาหกรรมความงามจึงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
และจากการสำรวจส่วนใหญ่ที่คนเราต้องการในเรื่องความงาม เครื่องสำอาง ก็คือ กันแดด ว่าแต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า กันแดดตัวไหนดี มีค่าอะไรวัดบ้าง และใช้ตัวไหนจึงจะเหมาะสมกับเรา
อาจมีสาวๆ หลายท่านเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดดมาใช้กัน พอหยิบๆ ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาดู หลายๆ คนอาจงงว่า เอ๊ะ! SPF คืออะไร แล้ว PA+++ ล่ะ มีความหายว่าอย่างไร?? แล้วตัวเลขที่ต่อท้าย SPF ไม่ว่าจะเป็น15 30 50 ล่ะ กำลังบอกข้อมูลอะไรกับเราอยู่ จะเดินไปถามพนักงานก็เขิน สรุปก็เลยไม่รู้อยู่ดี... งั้นวันนี้เรามารู้จักค่าเหล่านี้กัน
ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร
ส่วนผสมในครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี ,ป้องกันแสง UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง สำหรับคำแนะนำในการใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดด ที่ดีที่สุด คือครีมกันแดดที่สามารถที่จะป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ(ซึ่งอาจจะขึ้นกับความแรงของแสง) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปสู่ที่มีแสงแดด 30 นาที(ส่วนใหญ่มักจะพบคำแนะนำนี้ตามขวดของครีมกันแดดกันนะ)
แล้ว SPF คืออะไร
ค่า SPF หรือ Sun Protection Factor เป็นตัวระบุระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVB หรือ ก็คือจำนวนเท่าของเวลาที่ผิวทนต่อรังสีอัลตราไวโอเลตนี้ได้หลังจากทาครีมกันแดดแล้ว ซึ่งโดยปกติผิวของเราจะรับมือกับแสงแดดโดยปราศจากครีมกันแดดได้ประมาณ 20-30 นาที ถ้าครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์นั้นระบุไว้ว่า SPF30 ก็จะหมายถึง เราสามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 30×30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมง โดยที่ผิวไม่ไหม้แดง แต่กระนั้นการคำนวณอาจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากครีมกันแดดที่ทาบนผิวอาจลบเลือนไปเมื่อเหงื่อออก โดนน้ำ หรือทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดควรทาครีมซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ประสิทธิภาพในการป้องกันแดดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ทำไม SPF สูง ก็ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป
โดยทั่วไป ครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 ก็เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในแถบเอเชียอย่างเรา แต่สำหรับคนที่ผิวไวต่อแดด หรือถูกผิวถูแผดเผาให้หมองคล้ำได้ง่ายนั้น ใช้ SPF 30 ก็ถือว่าเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ ก็ไม่ว่ากัน
ตัวอย่าง ค่า SPF และ % การปกป้องแสง UV
• ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
• ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
• ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
• ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
• ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
• ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
• ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
• ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
จะเห็นว่า ค่า SPF หลังจาก 30 แล้ว ค่าที่จะป้องกัน แสง UV ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่ากับ SPF ที่เพิ่มขึ้น เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึง ความสำคัญของครีมกันแดดแล้ว ก็จะคิดว่า ถ้าหากค่า SPF สูงๆ ย่อมที่จะป้องกันแสงแดดได้ดีกว่าแน่นอน เราจึงเห็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 100 ขายกันอยู่ เพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูตลกมากๆ
ค่า SPF สูงๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า จะปกป้องแสดงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ค่า SPF สูงๆ นั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย และยังเป็นไปไปได้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นอาจ จะเกิดผดผื่นคันได้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้สีผิวของเราไม่สม่ำเสมอ เกิดรอยด่างขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้เสื้อผ้าเป็นคราบสีเหลืองติดเสื้อผ้าอีกด้วย
PA คืออะไร
ครีมกันแดดใหม่ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA
PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซึมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ
ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ
PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA
PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด
สาวๆ คงเข้าใจกันแล้วว่า SPF กับ PA+++ คืออะไร จะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้มีความสำคัญมากในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะทำให้เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันUVA และ UVB ได้มากเท่าใด ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นระบุไว้แค่ค่า SPFอย่างเดียว หรือค่า PA อย่างเดียว ก็หมายความว่า ผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถปกป้องผิวจากทั้ง 2 รังสีได้พร้อมๆ กัน นั่นก็คือ ป้องกันได้แค่รังสีชนิดเดียวเท่านั้น ทางที่ดี ไหนๆ ก็จะยอมลงทุนเสียเงินเพื่อปกป้องผิวของเราแล้ว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุทั้งสองค่าไปเลยดีกว่า เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดที่จะช่วยปกป้องผิวสวยๆของเราจากแสงแดด ...
No comments:
Post a Comment