Friday, February 13, 2015

วันวาเลนไทน์ คืออะไร

วันวาเลนไทน์ คืออะไร??

  วันวาเลนไทน์ นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของเทพและเทพธิดาของโรมัน ต่อมากรุงโรมได้เกิดสงครามหลายครั้ง จักรพรรดิประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารมาเข้าร่วมรบในศึกสงคราม เพราะผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิ ประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงาน และงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม แต่ก็ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งชื่อว่า
ท่านนักบุญ " วาเลนไทน์ " ท่านเป็นพระที่กรุงโรม ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็กๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียน
ที่ตกทุกข์ได้ยาก และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับๆด้วย
           และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้ นักบุญ วาเลนไทน์ ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์
  สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์


สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็น
เด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมัน
            ของที่นิยมให้ในวันวาเลนไทน์
ดอกไม้ สามารถสื่อความรักได้หลากหลาย รูปแบบ ไม่จำกัดอายุและเพศ อย่างเช่น

ดอกกุหลาบแดง หมายถึง ความรักอันลึกซึ้ง จริงจัง กุหลาบแดง จึงมักจะเป็นดอกไม้ ที่ชายหนุ่มให้หญิงสาวที่ตนเองตั้งใจ จะใช้ ชีวิตร่วมกัน

กุหลาบขาวแทน หมายถึง ความรักอันบริสุทธิ์ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ดังนั้นมันจึงสามารถใช้แทนความรักของคนต่างวัย ความรักต่อพ่อแม่เพื่อน หรือคนที่เรารู้สึกดีด้วยอย่างบริสุทธิ์ใจได้
กุหลาบชมพู หมายถึง ความรัก ที่กำลังเริ่มงอกงามในใจ และสามารถ พัฒนาต่อไปเป็นความรักที่ลึกซึ้งได้
กุหลาบสีเหลือง หมายถึง ความรักแบบเพื่อน และความสนุก สนานรื่นเริง จึงมักจะนำมันมาประดับตะกร้าสำหรับเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อทำให้คนป่วย รู้สึกสดชื่นรื่นเริงขึ้นนั่นเอง
ช็อคโกแลต

ช็อคโกแลตนับว่าเป็นของที่หาได้ยาก และราคาแพงในสมัยก่อน รวมทั้งช็อกโกแลตยังเป็นสัญลักษณ์
ของเสรีภาพ มิตรภาพ และสันติภาพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น ก็เลยทำให้ช็อกโกแลต กลายมาเป็นของขวัญสื่อทางใจระหว่างคู่รักซึ่งกันและกันในช่วงวันวาเลนไทน์

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก benboat.com

No comments:

Post a Comment