Friday, December 12, 2014

พื้นฐานการถ่ายภาพ : การถ่ายภาพทะเลหมอก

พื้นฐานการถ่ายภาพ : การถ่ายภาพทะเลหมอก


ธรรมชาติและช่วงเวลาที่เหมาะกับการถ่ายภาพทะเลหมอก

การจะเกิดทะเลหมอกจะต้องมีความชื้นและความเย็น สถานที่จะพบเห็นทะเลหมอกได้จึงต้องเป็นที่มีอากาศเย็น มีความชื้นสูง และลมสงบ หากมีปัจจัยครบทั้งสามอย่างนี้ เราน่าจะได้เห็นทะเลหมอกปรากฏขึ้นมาอยู่เสมอ จุดที่เราจะพบเห็นทะเลหมอกได้บริเวณหุบเขาที่มีป่าสมบูรณ์มีลำธาร แม่น้ำแหล่งน้ำหรือในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความชื้นสูง ในช่วงฤดูหนาวอากาศเย็น หากมีความชื้นสูงจะเกิดทะเลหมอกได้เช่นกัน หรือในช่วงฤดูฝน ในเช้าวันใดที่ฝนไม่ตก ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่มีลมแรง เราก็สามารถพบเห็นทะเลหมอกได้เช่นกัน รวมทั้งในช่วงฤดูร้อน หลังจากช่วงฝนตกหนักผ่านไป หากคืนนั้นอากาศเย็น ในเช้าวันรุ่งขึ้นเราก็มีโอกาสพบเห็นทะเลหมอกได้มากเช่นกันช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทะเลหมอก ผมแนะนำให้ถ่ายภาพในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานตอนบนและภาคเหนือ ช่วงปลายธันวาคมไปแล้วไม่แนะนำเท่าไรนัก เพราะมักจะมีการเผาหญ้า เผาไร่นา ทำให้เกิดควันปกคลุมพื้นที่ด้านล่างไปทั่ว เวลาถ่ายภาพออกมาด้านล่างจะมืด บนสว่าง ทำให้ภาพไม่สวย แก้ไขได้ยากแต่ก่อนจะไปถ่ายภาพทะเลหมอกที่ใดๆ ก็ตาม แนะนำว่าควรทำใจสักนิดว่าอาจจะไม่เห็นทะเลหมอกสวยๆ ก็ได้นะครับ บางครั้งมีลมพัดแรง ทำให้ทะเลหมอกไม่สามารถก่อตัวได้บางครั้งความชื้นไม่มีก็ไม่เกิดทะเลหมอก (ส่วนใหญ่จะเป็นเขตที่ป่าไม่สมบูรณ์และไม่มีแหล่งน้ำ) ที่แสบสุดเห็นจะเป็นมีเมฆสูงมาบังดวง อาทิตย์ทำให้ใม่ได้ภาพพระอาทิตย์ขึ้นกลางทะเลหมอกสวยๆ แต่อย่าย้อท้อนะครับ


การเตรียมตัวถ่ายภาพทะเลหมอก

ทะเลหมอกส่วนใหญ่จะเกิดกลางป่าเขา หรือริมทางที่ตัดผ่านภูเขา ในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมตัวบ้างเหมือนกัน มีข้อแนะนำในการเตรียมตัวดังนี้

1. กล้องถ่ายภาพ ใช้ได้ทั้งกล้อง SLR และ COMPACT ขอให้ตั้งระบบ White Balance ได้มีระบบถ่ายภาพแบบปรับตั้งเอง หรือถ้าเป็นระบบ Auto ต้องมีระบบชดเชยแสง มีSelf-Timer สามารถเปิดชัตเตอร์ได้นานกว่า 4 วินาที(ถ้าน้อยกว่านั้นจะมีข้อจำกัดมาก) และติดตั้งขาตั้งกล้องได้

2. เลนส์หากเป็นกล้อง SLR ควรมีเลนส์มุมกว้าง (เทียบเท่ากล้อง 35มม. ประมาณ 24 มม.หรือกว้างกว่า )ส่วนกล้องคอมแพคคงไม่มีทางเลือกมากนัก แนะนำให้ลองดูว่าสามารถใช้Wide-angle Converter ได้หรือไม่ถ้าได้อาจจะซื้อมาใช้แก้ขัดไปก่อน

3. การ์ดเก็บข้อมูล ควรมีการ์ดความจุสูงมากๆ เช่น 512 MB หรืออย่างน้อยต้อง 256 MB ขึ้นไป ขึ้นกับจำนวนภาพที่ต้องการถ่ายด้วย หากต้องการถ่ายภาพจริงๆ จังๆ ด้วยกล้องดิจิตอล แนะนำให้มีการ์ดเก็บข้อมูลประมาณ 1 GB ขึ้นไป แนะนำให้มีการ์ด 2 ใบ (512MB 2 ชิ้น) เผื่อการ์ดใบหนึ่งมีปัญหา อีกใบหนึ่งยังจะใช้ได้หรือถ้าการ์ดหายไปก็จะได้ไม่เป็นปัญหาเช่นกัน

4. ขาตั้งกล้อง เป็นสิ่งจำเป็นมากในการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยๆ ขาตั้งที่แข็งแรงพอที่จะรับแรงประทะของลมโดยที่กล้องไม่สั่นไหว

5. แบตเตอรี่ เวลาไปถ่ายภาพในที่อากาศเย็น แบตเตอรี่จะอ่อนกำลังลงเร็วมากๆ ต้องชาร์จแบตเตอรื่ให้เต็มก่อนทุกครั้ง และควรมีแบตเตอรี่สำรองเอาไว้เปลี่ยน หากแบตเตอรี่หมดระหว่างถ่ายภาพ อาจจะใช้วิธีถอดแบตเตอรี่ออกไปเก็บไว้ในที่อุ่นๆ จะช่วยให้แบตเตอรี่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ต่อ

6. สายกดชัตเตอร์หากเป็นกล้อง SLR ควรมีสายกดชัตเตอร์ส่วนกล้องคอมแพคให้ใช้ระบบ Self-Timerแทน

7. ไฟฉาย เอาไว้ส่องหาของและปรับตั้งตัวกล้องในช่วงที่ท้องฟ้ายังมืดอยู่ควรใช้ไฟฉายที่เป็นแบตเตอรี่ AA 4 ก้อน ซึ่งจะมีความสว่างมากเพียงพอ สามารถใช้ส่องทางเดิน และยังใช้แบตเตอรี่ร่วมกับกล้องได้


ปัญหาหนึ่งที่จะพบได้บ่อยๆ เวลาออกไปถ่ายภาพทะเลหมอกคือ มีฝ้าไอน้ำจับที่หน้าชิ้นเลนส์สาเหตุเป็นเพราะเกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศและชิ้นเลนส์เลนส์เย็น อากาศร้อนและชื้นกว่าเลนส์ไอน้ำจึงเกาะได้แนะนำว่า เวลาเก็บกล้อง หากขับรถไปเอง ควรเก็บกล้องไว้ที่ห้องเก็บของหลังรถ อย่าเก็บในห้องโดยสารที่มักจะเปิดแอร์จนเย็นมากๆ เมื่อนำกล้องออกมาจึงเกิดไอน้ำจับ ถ้าเก็บกล้องไว้ที่กระโปรงหลังรถอากาศจะร้อนกว่าภายนอก เมื่อโดนอากาศเย็นและความชื้นจะไม่เกิดไอน้ำจับหน้าเลนส์ช่วงที่เดินทางควรเปิดฝากระเป๋ากล้องให้อากาศระบาย(ดูเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ) จะลดปัญหาเรื่องฝ้าไปได้มากหากมีไอน้ำจับหน้าเลนส์อย่าถอดเลนส์ออกจากกล้องเป็นอันขาด มิเช่นนั้นไอน้ำจะจับด้านในกล้อง รวมไปถึง CCD ด้วย ห้ามมิให้เช็ดเลนส์เพื่อขจัดหยดน้ำจะทำให้เกิดคราบน้ำและยังจะเกิดฝ้าไอน้ำขึ้นมาใหม่ต้องทิ้งเอาไว้ให้อุณหภูมิของชิ้นเลนส์ปรับตัวเท่ากับอากาศเพียงอย่างเดียว


เดินทางสู่จุดถ่ายภาพทะเลหมอก

ทะเลหมอกจะสวยในช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นประมาณครึ่งชั่วโมงไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้วครึ่งชั่วโมง ในช่วงฤดูหนาวพระอาทิตย์จะขึ้นช้า ควรเดินทางไปให้ถึงจุดที่ถ่ายภาพอย่างช้า 6 โมงเช้า จะได้แสงแรกที่สวยมากๆ ถ้าเป็นช่วงฤดูอื่นๆ เช่น ฤดูร้อน พระอาทิตย์ขึ้นเร็ว ต้องไปให้ถึงจุดถ่ายภาพอย่างช้าประมาณตีห้าครึ่ง ดังนั้น ผู้ถ่ายภาพต้องบวกเวลาเดินทางให้เพียงพอเอาไว้ด้วย อย่าประมาทจะทำให้พลาดช่วงเวลาสวยๆ ได้คนที่จะถ่ายภาพทะเลหมอกจำเป็นต้องตื่นเช้ามากๆ นะครับ ส่วนใหญ่ผมจะตื่นประมาณตี4 เพื่อเตรียมของทั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพ อุปกรณ์เดินทาง อาหาร ต้องอดทนกันหน่อยเพื่อแลกกับภาพสวยๆ รับรองว่าคุ้มครับ

บางครั้งช่วงเช้าๆ อาจจะดูเหมือนมีเมฆมาก มีหมอกลง บางคงคิดว่าไม่น่าจะเห็นทะเลหมอก แนะนำว่า มาถึงแล้วให้เดินทางไปที่จุดถ่ายภาพจะดีกว่า หลายครั้งที่ดูแล้วเหมือนจะไม่ได้อะไร แต่กลับได้ภาพสวยมากๆอย่างไมคาดคิดมาก่อน ถ้าเช้านั้นท้อใจนอนหลับต่อในที่พัก วันนั้นก็อดได้ภาพทะเลหมอกสวยๆ แน่


เนื่องจากมุมมองและการจัดองค์ประกอบภาพเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ซึ่งไร้ข้อจำกัด ผมจึงไม่สามารถแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้ได้ดังนั้น ผมขอแนะนำเทคนิควิธีการส่วนตัวของผมก็แล้วกันนะครับ ซึ่งบางคนอาจจะมีเทคนิค มุมมอง และแนวคิดที่ดีกว่า ก็สามารถแนะนำผมและเพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้เช่นกัน ตรงนี้อยากให้เรามาแชร์กัน จะเป็นประโยชน์มากๆ ต่อผู้ให้และผู้รับ

ขั้นตอนในการจัดภาพของผมมีดังนี้

1. มองหามุมที่น่าสนใจก่อนจะตั้งกล้อง ผมจะมองภาพที่ต้องการถ่ายด้วยสายตาในมุมกว้างๆ ก่อน จากนั้น ผมจะดูว่า บริเวณไหนของทิวทัศน์ที่น่าสนใจ ผมชอบภาพที่มีฉากหน้าเรียบง่าย ด้านหน้าอาจจะเป็นทุ่งหญ้าทอดยาวไปหาทะเลหมอก แนวเขาสีเข้มๆ มืดๆ มีแนวคิดง่ายๆ ในการหามุมภาพเพื่อจะได้ภาพสวยๆ มีมิติดังนี้

“สีเข้มอยู่หน้า สีสว่างอยู่หลัง”
“สีร้อนอยู่หน้า สีเย็นอยู่หลัง”


โดยปกติจะเดินไปเดินมาเพื่อหามุมที่ดีที่สุด มุมที่จะถ่ายต้องมีฉากหน้าที่ไม่รกรุงรัง ไม่รบกวนจุดสนใจ และเห็นทะเลหมอกได้ชัดเจน มองไปต้องรู้ว่า ทะเลหมอก เขา หรือดวงอาทิตย์เป็นจุดเด่นของภาพ ผมมักจะหลีกเลี่ยงมุมที่มีต้นหญ้าสูง มีต้นไม้รกๆ และมักจะขึ้นอยู่ในที่สูงกว่าปกติเมื่อพบมุมที่ต้องการแล้ว ก็จัดการตั้งขาตั้งกล้อง เอากระเป๋ากล้องถ่วงขาตั้งเอาไว้เพื่อให้ขาตั้งนิ่งจริงๆ และเวลาเจอลมพัดแรงๆ ขาตั้งจะยังมั่นคง (ขาตั้งต้องรับน้ำหนักกระเป๋ากล้องได้ด้วยนะ)

2. ติดตั้งกล้องและเลนส์จากนั้นประกอบเลนส์กับกล้องเข้าด้วยกัน โดยจะเลือกเลนส์ที่ให้มุมใกล้เคียงกับภาพที่อยากได้เวลาเปลี่ยนเลนส์จะหันหลังเข้าหาลม เอาตัวบังลมไว้เพื่อไม่ให้ฝุ่นและละอองน้ำเข้าไป แล้วติดตั้งกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องให้มั่นคง (กล้องต้องไม่หมุนได้หากไม่ปลอดล็อคหัวขาตั้ง)

3. ระบบ White Balanceแนะนำให้ใช้ระบบ Daylight ซึ่งเป็นรูปดวงอาทิตย์จะได้สีสันที่ถูกต้องใกล้เคียงตาเห็นกว่าการใช้ระบบAuto WB หากต้องการให้ภาพออกโทนสีแดงมากเป็นพิเศษ แนะนำให้ใช้ระบบ WB แบบ Cloudy ที่เป็นรูปเมฆ

4. ปรับความชัดกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะใช้ระบบปรับความชัดอัตโนมัติแบบ Passive คือใช้วิธีวิเคราะห์ภาพที่ปรากฏบนจอLCD ซึ่งมักจะมีปัญหากับการปรับความชัดในส่วนที่เป็นพื้นเรียบไม่ได้และปรับความชัดในที่แสงน้อยๆ ไม่ได้วิธีแก้ปัญหามี3 ทาง

1. ใช้ระบบปรับความชัดแบบปรับตั้งเอง และปรับความชัดไกลสุดสายตา
2. ใช้ระบบปรับความชัดอัตโนมัติแล้วปรับความชัดที่รอยต่อระหว่างถูเขากับท้องฟ้า ซึ่งจะมีความแตกต่างของแสงสูง
3. ปรับระบบถ่ายภาพหรือระบบปรับความชัดไปที่ ภาพทิวทัศน์กล้องจะปรับความชัดไกลสุดสายตาให้

กล้อง SLR ที่ใช้เลนส์เทเลโฟโต้ช่วงยาว เลนส์ซูมช่วงยาว รวมถึงเลนส์ที่มีจำนวนชิ้นเลนส์มากๆ
ระยะโฟกัสของเลนส์จะผิดไปมากเวลาใช้ในที่อากาศหนาว เนื่องจากการยืดหดของเลนส์ให้ใช้ระบบปรับความชัดอัตโนมัติผ่านเลนส์หรือปรับระยะชัดโดยมองภาพที่ช่องมองภาพเท่านั้น อย่าปรับความชัดโดยการดูเสกลระยะชัดที่กระบอกเลนส์จะทำให้ภาพไม่ชัดเพราะระยะชัดผิดพลาด

5. จัดองค์ประกอบภาพการจัดภาพ ผมพยายามจะทุกอย่างให้ลงตัวที่ช่องมองภาพเลย (อย่าคิดพึ่ง Photoshop มากเกินไปนัก)ต้องทำต้นฉบับให้ดีที่สุดก่อน ภาพที่ผมถ่ายมักจะมีฉากหน้าเป็นสีเข้มๆ ไล่ไปหาสีสว่าง อาจจะเป็นแนวเขาก้อนหิน ต้นไม้ที่มืดๆ แต่ดูแล้ว ส่วนมืดต้องไม่ติดกันเป็นก้อนใหญ่มากเกินไป มิเช่นนั้นภาพจะมีแต่สีดำๆขาดความน่าสนใจ (ยกเว้นบางภาพ)
ผมจะพยายามให้ในภาพมีรายละเอียด มีการไล่ระดับโทนสีมากที่สุด จะไม่เว้นภาพให้มีสีโทนเดียวมากๆ(ยกเว้นเอาไปใช้งานเฉพาะกิจ เช่น ทำปกหนังสือ ซึ่งต้องเหลือพื้นที่ใส่ตัวอักษร) เช่น ไม่เว้นพื้นที่ส่วนท้องฟ้ามากเกินไป แต่ถ้าท้องฟ้ามีเมฆสวย หรือมีการไล่แสงสวยๆ ผมถึงจะให้พื้นที่ส่วนนั้นมากๆภาพต้องดูออกนะครับว่า จะเน้นทะเลหมอก หรือจะเน้นท้องฟ้า ไม่ควรกึ่งๆ จะเน้นฟ้าก็ไม่เน้น จะเน้นทะเลหมอกก็ไม่เน้น (ยกเว้นดูแล้วสวยก็ให้กึ่งๆได้) หากต้องการทะเลหมอกเป็นหลัก แนะนำให้วางพื้นที่ทะเลหมอกประมาณ 2/3 ของภาพ แต่ถ้าเน้นฟ้า ให้วางฟ้าไว้2/3 ของภาพ ยกเว้นในกรณีที่ฉากหน้าหรือองค์ประกอบภาพไม่สามารถเว้นพื้นที่ได้

ในเรื่องขององค์ประกอบ แนะนำลองดูภาพตัวอย่างภาพมากๆ นะครับสิ่งสำคัญมากๆ ที่แนะนำในเรื่องขององค์ประกอบคือ ควรดูภาพในช่องมองภาพอย่างใจเย็น ระมัดระวัง และถามตัวเองว่า ดีหรือยัง ควรปรับตรงไหน จัดทุกอย่างให้ลงตัวมากที่สุด แล้วค่อนทำงานในขั้นต่อไป


6. เลือกช่องรับแสงที่เหมาะสมส่วนใหญ่ผมจะใช้ช่องรับแสงปานกลางในการถ่ายภาพทิวทัศน์หรือถ้าภาพมีระยะใกล้ไกลต้องใช้ช่องรับแสงแคบมากๆ จะใช้ช่องรับแสงกว้างสุดที่ยังให้ภาพชัดลึกเพียงพอ การเปิดช่องรับแสงกว้างเกินไป ภาพจะไม่คมชัด การเปิดรับแสงแคบเกินไป ภาพจะไม่คมชัดเช่นเดียวกันผมมักจะเลือกช่องรับแสง F8 -11 (เลนส์มีช่วงช่องรับแสง F2.8-32) หรือหรี่ช่องรับแสงประมาณ 3 stopจากช่องรับแสงกว้างสุด ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่เลนส์มีคุณภาพสูงสุด ทั้งนี้ต้องดูช่วงความชัดลึกเป็นหลักกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคคงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความชัดลึกนักนะครับ เพราะกล้องชนิดนี้ชัดลึกสูงมากๆ

7. วัดแสงตรงนี้ผมขอข้ามไปเป็นอีกหัวข้อ เป็นเรื่องใหญ่ยืดยาว

8. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมเมื่อวัดแสงได้ความเร็วชัตเตอร์ออกมาแล้ว ดูว่าความเร็วชัตเตอร์นั้นต่ำมากหรือไม่ถ้าต่ำมากๆ จำเป็นต้องใช้สายกดชัตเตอร์หรือ Self Timer เพื่อป้องกันการสั่นไหวของภาพ (แนะนำให้ใช้แม้ว่าจะได้ความเร็วชัตเตอร์สูงก็ตาม)

9. กดชัตเตอร์ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการสั่นไหวของภาพ

10. ดูภาพที่ปรากฏบนจอ LCD ว่ามีความสว่างพอเหมาะหรือไม่หากเป็นไปได้แนะนำให้ดูค่า Histogramจะมีความแม่นยำเที่ยงตรงมากกว่า (การใช้Histogram อย่างละเอียดจะเขียนและเปิดอบรมต่อไป) ถ้าภาพมีความสว่างไม่เหมาะสม ต้องปรับแสงลงโดยการปรับความเร็วชัตเตอร์ (ระบบถ่ายภาพแบบปรับตั้งเอง M)หรือชดเชยแสง (ระบบถ่ายภาพอัตโนมัติA,S,P ฯลฯ )

11. ถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง หากแสงมีปัญหา ถ้าเป็นช่วงจังหวะที่แสงหรือภาพสวยมากๆ แนะนำให้ถ่ายภาพคร่อมค่าการเปิดรับแสงเอาไว้(Bracketing) เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ภาพที่สวยที่สุดกลับมาอย่างแน่นอน



ภาพทะเลหมอกจะสวยมากตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ขึ้น จะเห็นแสงเรืองๆ บนท้องฟ้า ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างจะได้แสงโค้งเป็นสีๆ สลับไปมา สวยมากๆ ควรถ่ายภาพเก็บเอาไว้เป็นระยะเพื่อจะได้ไม่พลาดจังหวะที่สวยที่สุดอย่างแน่นอนช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ขึ้น หากไม่มีเมฆมาบัง จะเกิดแสงสีแดงจับก้อนเมฆ ภาพจะสวยมากๆช่วงพระอาทิตย์กำลังขึ้น แสงจะสวยมากช่วงที่พระอาทิตย์เริ่มโผล่จากแนวเขาที่เส้นขอบฟ้า ให้รีบถ่ายภาพช่วงนั้น เมื่อดวงอาทิตย์พ้นเส้นขอบฟ้ามาประมาณ 3 องศา แสงจะเริ่มจ้ามากๆ ให้เปลี่ยนมุมการถ่ายภาพไปที่อื่น อย่าเน้นดวงอาทิตย์ภาพจะไม่สวย แต่ต้องระวังให้ดี
ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว ช่วงนี้แสงจะสาดในมุมต่ำทะเลหมอกจะสวยมาก แต่ท้องฟ้าจ้า ให้ลดพื้นที่ท้องฟ้าลง (เว้นแต่เมฆสวยมาก) เน้นไปที่ทะเลหมอกแทน ระวังเรื่องแสงแฟลร์แสงฟุ้งมากๆ ควรมีฮูดป้องกันแสงแฟลร์หรือใช้มือบังแสงไม่ให้เข้าเลนส์(ดวงอาทิตย์อยู่นอกภาพ) บางครั้งดวงอาทิตย์เข้าเมฆแล้วสาดแสงเป็นลำออกมาสวยมากๆ จังหวะช่วงนี้มีไม่กี่วินาทีต้องพร้อมตลอดเวลาหลังจากพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้วประมาณ 30 นาทีเริ่มไม่เหมาะกับการถ่ายภาพทะเลหมอกเท่าไรแล้ว มุมจะสูง สีไม่ดึงดูดมากนัก ทะเลหมอกเริ่มสลายตัว ถ้าไม่มีแสงลอดเมฆสวยๆ ไปถ่ายภาพบุคคลเป็นที่ระลึกจะสวยมากๆ



การวัดแสงทะเลหมอกเป็นเรื่องค่อนข้างยากสักนิด โดยเฉพาะการควบคุมโทนสีของภาพ ต้องใช้ความรู้เรื่องแสงเงา โนสีและการวัดแสงมากพอสมควร

1. สำหรับมือใหม่แนะนำให้ใช้ระบบวัดแสงแบ่งพื้นที่ ถ่ายภาพแล้วดูค่า Histogram หรือจอ LCD หากภาพไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ให้ถ่ายภาพแก้ใหม่และควรถ่ายภาพคร่อมค่าการเปิดรับแสงเอาไว้ด้วย

2. สำหรับมือเก่าและผู้ที่เก่งพอตัวแล้วการวัดแสงและการจัดองค์ประกอบภาพทะเลหมอกเป็นเรื่องเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ตาคนเราจะเห็นรายละเอียดในช่วงแสงที่กว้างมากๆ ประมาณ 17 stop แต่กล้องดิจิตอลมีช่วงการรับแสงแคบๆ ประมาณ 6 stopเท่านั้น ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่เราจะถ่ายภาพให้เหมือนกับตาเห็นผมขอแบ่งภาพพระอาทิตย์ขึ้นกับทะเลหมอกเป็น 3 แนว คือ

1. เน้นแสงท้องฟ้า แสงจากท้องฟ้าจะพอดีชัดเจน แต่ฉากหน้าจะเป็นสีดำหรือเข้ม ทะเลหมอกสีเข้มๆ ไม่ขาวเหมือนตาเห็น แนะนำให้ถ่ายภาพแนวนี้ในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือช่วงพระอสทิตย์กำลังแตะเส้นขอบฟ้า ภาพแบบนี้ให้วัดแสงที่ท้องฟ้าเป็นหลัก อาจจะใช้ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลางวัดแสงให้ตรงกลางภาพไปวัดแสงที่ท้องฟ้าเหนือจุดที่พระอาทิตย์ขึ้นก็ได้หรือวัดแสงเฉพาะจุดที่กลางแสงบริเวณพระอาทิตย์ขึ้น แล้วชดเชยแสงโอเวอร์ไปเล็กน้อย (1-2 stop)หากถ่ายภาพโดยเน้นแสงท้องฟ้า บริเวณฉากหน้าที่เป็นแนวเขาจะมืดไป (ลองวัดแสงเฉพาะจุดตรวจสอบโทนสีภาพดูได้หากต่ำกว่า -3 stop ส่วนนั้นจะมืด )

2. เน้นทะเลหมอก ทะเลหมอกจะขาวสวย ฉากหน้ามีรายละเอียดสูง สีเข้มเล็กน้อย แต่ท้องฟ้าที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ จะขาวจ้า หากจะถ่ายภาพแบบนี้ให้ถ่ายบริเวณที่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปอย่างน้อย 30-45องศา(ถ้ามุมสวย) จะได้แสงสาดเข้าทะเลหมอกมาจากด้านข้าง รายละเอียดของทะเลหมอกจะสวยมาก มีโทนสลับมืดสว่าง และท้องฟ้าจะมีโทนสีการวัดแสงให้วัดแสงเฉพาะจุดที่หมอกส่วนโดนแสงแล้วเปิดโอเวอร์+1 ถึง +1.5 stop หรือใช้ระบบวัดแสงแบ่งพื้นที่หรือเฉลี่ยหนักกลางวัดแสงก็ได้แนะนำให้ถ่ายภาพแนวนี้ในช่วงพระอาทิตย์เลยเส้นของฟ้าไปเกิน 5 องศา มีแสงสาดไปยังทะเลหมอกและแนวเขาแล้ว

3. กึ่งกลางระหว่างทะเลหมอกและท้องฟ้า ไม่ควรหันกล้องไปยังแนวเดียวกับดวงอาทิตย์เพราะฟ้าบริเวณนั้นจะสว่างจ้ามากๆ เวลาถ่ายภาพจะมีความแตกต่างของแสงสูงมาก ภาพด้านบนสว่าง ข้าล่างมืดมาก ไม่สวย ให้ถ่ายภาพในมุมข้างหลบดวงอาทิตย์ไปประมาณ 45 องศา วัดแสงธรรมดาไม่ยากซับซ้อน



ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก http://photographer-technical.blogspot.com/ ค่ะ

No comments:

Post a Comment